Last updated: 17 ก.ค. 2566 | 1615 จำนวนผู้เข้าชม |
เมจิกเดอะแกเธอริง (Magic: the gathering) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า MTG, เมจิก, การ์ดเมจิก เป็นต้น เป็นเกมไพ่สะสม (collectible card game) ที่คิดค้นโดย ริชาร์ด การ์ฟิลด์ (Richard Garfield) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) และจัดพิมพ์ออกขายโดยบริษัท Wizards of the Coast ซึ่งภายหลังถูกซื้อไปโดยบริษัท Hasbro อีกทีหนึ่ง เมจิกถือได้ว่าเป็นเกมการ์ดสะสม เกมแรก และยังคงเป็นเกมการ์ดที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยมีจำนวนผู้เล่นมากกว่า หกล้าน คน ทั่วโลก เมจิกเล่นได้ด้วยผู้เล่นสองคนหรือมากกว่า โดยใช้ไพ่ซึ่งมีทั้งในรูปแบบของไพ่ที่พิมพ์ออกขาย หรือเล่นผ่านระบบ online ด้วยคอมพิวเตอร์ ในชื่อว่า MTG online
ผู้เล่นเมจิกนั้นจะสมมุติตัวเองว่าเป็น นักท่องพิภพ (planeswalker) จอมเวทย์ที่มีพลังมหาศาล มีพลังข้ามมิติได้ นักท่องพิภพจะต่อสู้กันด้วย เวทมนตร์ (Sorcery/Instant) สัตว์อสูร (Creature) หรือ สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ (Artifact) โดยใช้พลังเวททย์มนต์ซึ่งเรียกว่า "มานา"(Mana) ซึ่งได้มาจากดินแดน (Land) ซึ่งสิ่งเหล่านี้แทนด้วยไพ่ชนิดต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายที่จะเอาชนะฝ่ายตรงข้าม
ระบบการเล่น เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่หากจะให้เก่งต้องฝึกฝน เพราะการจัดdeck(สำรับการ์ด) สามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบมากๆ และที่สำคัญคือการช่วงชิงจังหวะในการออกการ์ดต่างๆ
นับเป็นการ์ดเกมส์ที่เรียกได้ว่า ไม่มีวันตาย เพราะกระแสการเล่นในต่างประเทศมีเยอะมากๆและมีการจัดแข่งระดับประเทศอยู่บ่อยครั้ง รวมถึงราคาของบางใบที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้เป็น10-20เท่าในระยะเวลาไม่กี่ปี
กติกาเบื้องต้น
ในเกมส์นี้ผู้เล่นจะชนะได้ 3 วิธี
1. ชนะเพราะพลังชีวิตฝ่ายตรงข้ามหมด ผู้เล่นตั้งแต่สองคนขึ้นไป เริ่มเกมด้วย พลังชีวิต 20 หน่วย ผู้เล่นจะแพ้เมื่อค่าพลังนี้หมดลง วิธีลดค่านี้ที่พบบ่อยที่สุดคือการโจมตีด้วยสัตว์อสูรที่ถูกเรียกออกมา หรือด้วยเวทมนตร์ต่าง ๆ วิธีนี้จัดเป็นวิธีแพ้ ชนะพื้นฐานของเกมส์
2. ชนะเพราะฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถจั่วไพ่ได้ เมื่อผู้เล่นคนใดต้องจั่วไพ่แต่ไม่สามารถจั่วไพ่ได้เพราะไม่มีไพ่เหลือในสำรับ ผู้เล่นคนนั้นจะเป็นฝ่ายแพ้ โดยอาจเกิดจากการที่เล่นกันต่อเนื่องจนไพ่หมดสำรับ หรือการใช้ความสามารถพิเศษที่มีผลให้ลดจำนวนไพ่ในสำรับลง
3. ชนะเพราะคำสั่งของไพ่ เป็นการแพ้ หรือชนะ ด้วยความสามารถของไพ่บางใบ โดยปกติจะมีเงื่อนไขที่ต้องทำให้สำเร็จจึงจะสามารถชนะได้
5 มิ.ย. 2566
6 ก.ค. 2566
17 ก.ค. 2566